ศาลเจ้าฟูชิมิอินาริ เสาโทริอินับหมื่นต้น (Fushii Inari Taisha Shirine)

ศาลเจ้าฟูชิมิอินาริ (Fushii Inari Taisha Shirine) เสาโทริอินับหมื่นต้น : เมืองเกียวโต






ศาลเจ้าแห่งนี้มีสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของ ญี่ปุ่นปรากฎอยู่ แทบทุกคนต้องเคยเห็นภาพอุโมงค์ทางเดินที่เกิดจากการเรียงโทริอิสึแดงจ้ากว่า หนึ่งหมื่นซุ้ม ทอดสู่ฟูชิมิอินาริไทชะ หรือศาลเจ้าพ่อสุนัขจิ้งจอก ชาวนาเชื่อกันว่าเป็นผู้เดินสารของเทพแห่งการเก็บเกี่ยว ใช้เวลาเดินราว 2 ชั่วโมงหรือเป็นระยะทาง 4 กิโลเมตร ก็จะพบศาลแห่งนี้ การเดินชมเสาโทริอินนี้ ต้องใช้เวลาในการเดินหลายชั่วโมงกว่าจะเดินได้ครบ



การเดินทางไป ศาลเจ้าฟูชิมิอินาริ (Fushii Inari Taisha Shirine) นั่งรถไฟ JR Nara Line ลงสถานี Inari นั่งรถไฟ Keihen Line ลงสถานี Fushimi Inari แล้วเดินต่ออีก 300 เมตร (ประมาณ 5 นาที) จะถึงทางเข้าศาลเจ้าฟูชิมิอินาริ (Fushii Inari Taisha Shirine) เวลาเปิด ตลอเวลา ค่าเข้าชม ฟรี ไม่มีค่าเข้าชม

dozojapan.com

หนังสือการ์ตูน Bloody Monday Season 2


[Kaitori]Bloody Monday Ch.4 DOWNLOAD
[Kaitori]Bloody Monday Ch.3 DOWNLOAD
[Kaitori]Bloody Monday Ch.2 DOWNLOAD
[CHZ]Bloody Monday Ch.1 DOWNLOAD

Mangahelpers

ซูโม่



ซูโม่(ญี่ปุ่น: 相撲 sumō ซึโม ?) หรือมวยปล้ำญี่ปุ่นเป็นกีฬาประจำชาติที่ได้รับความนิยมในญี่ปุ่น ประวัติของซูโม่สามารถย้อนกลับไปได้ไกลถึงศตวรรษที่ 8 โดยวังหลวงได้คัดเลือกนักมวยปล้ำจากกองทัพมาสู้กัน เพื่อสร้างความบันเทิงแก่ชาววังในเกียวโต และพัฒนาจนกลายเป็นกีฬาอาชีพในปัจจุบัน นอกจากนั้นยังเป็นกีฬาที่ได้รับความนิยมจากประเทศในยุโรป เช่น อังกฤษ เป็นต้น อีกด้วย

ประเพณีที่ยึดถือในกีฬาซูโม่นั้นมีความเก่าแก่มาก และยึดถือเป็นแบบปฏิบัติต่อเนื่องกันมาถึงปัจจุบัน เช่น การโปรยเกลืออันเป็นสัญลักษณ์แสดงความบริสุทธิ์ ซึ่งเป็นประเพณีที่ซูโม่ถูกนำมาใช้เป็นส่วนหนึ่งในศาสนาชินโต การใช้ชีวิตของนักปล้ำซูโม่นั้นเคร่งครัดเป็นอย่างยิ่ง และอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ที่กำหนดโดยสมาคมซูโม่ นักปล้ำซูโม่อาชีพจะใช้ชีวิตร่วมกันภายใต้ค่ายสังกัด (heya) ของตนเอง โดยแบบแผนการดำเนินชีวิตในทุกด้าน นับตั้งแต่อาหารการกิน ไปจนกระทั่งการแต่งกาย นั้น ถูกกำหนดด้วยประเพณีปฏิบัติอันเคร่งครัด

ลักษณะ
คู่ปล้ำจะมีรูปร่างอ้วนใหญ่ และจะต้องมีน้ำหนักตัวจะต้องไม่ต่ำกว่า 75 กก.ทั้งสองฝ่ายต้องพยายามทำให้อีกฝ่ายหนึ่งล้ม ทำให้อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายนอกเหนือจากฝ่าเท้าแตะกับพื้น หรือดันคู่ต่อสู้ให้ออกจากวงกลมขนาดเล็ก การต่อสู้ใช้เวลาไม่นานและเริ่มต้นด้วยพิธีกรรมซึ่งรวมถึงการโปรยเกลือบน พื้นในกรอบวงกลม เป็นเครื่องหมายของความบริสุทธิ์ เนื่องจากซูโม่เป็นกีฬาที่มีเกียรติ ผู้ที่ก้าวไปถึงตำแหน่ง "โยโกสุนะ" ซึ่งเป็นตำแหน่งสูงสุดของซูโม่ถือว่าเป็นผู้พิชิตอุปสรรคที่ยิ่งใหญ่ที่สุด

ฤดูกาลแข่งขันซูโม่ของนักซูโม่อาชีพ เปิดการแข่งขันปีละ 6 ครั้ง คือในเดือนมกราคม มีนาคม พฤษภาคม กรกฎาคม กันยายน และพฤศจิกายน โดยแต่ละครั้งใช้เวลานาน 15 วัน

คะตะนะ (ดาบญี่ปุ่น)



คะตะนะ (ญี่ปุ่น: 刀 หรือ かたな Katana ?) เป็นภาษาญี่ปุ่นหมายความถึงอาวุธประเภทดาบ หรือที่เรียกว่า ดาบซามูไร มีลักษณะเป็นดาบคมด้านเดียว เอาไว้เพื่อฟันหรือเพื่อตัด เป็นดาบมีลักษณะพิเศษคือ ไม่หัก ไม่งอ และคม และเป็นงานศิลปหัตถกรรมที่มีคุณค่า มีวิธีการผลิตเฉพาะในญี่ปุ่นคือ เอาโลหะมาเผาและตีแผ่ครั้งแล้วครั้งเล่า จนได้ดาบที่มีความแข็งแรง คม ใช้เป็นอาวุธประจำกายของเหล่านักรบซามูไร ผู้ปกป้องอารักขาคุ้มครองเหล่าขุนนางแห่งญี่ปุ่น โดยปกติจะพกติดตัวตลอดเวลาจำนวน 2 เล่มคือ ดาบยาว หรือ คะตะนะ และดาบสั้น หรือ วาคิซาชิ

ความสำคัญของดาบซามูไร

ในสมัยเอโดะ ดาบเป็นสัญลักษณ์ของลัทธิ บุชิโด (วิถีทางของนักรบ) ซึ่งเป็นจริยธรรมของนักรบที่ต้องยึดถือปฏิบัติ และเป็นสิทธิพิเศษเฉพาะนักรบเท่านั้นที่อนุญาตให้พกดาบได้ ซึ่งในขณะนั้นมีประมาณร้อยละสิบของประชากรทั้งหมด และเหล่านักรบนั้นจึงถือว่าดาบเป็นสิงศักดิ์สิทธิ์ เป็นสิ่งที่แสดงเกียรติยศ ชื่อเสียงและความภาคภูมิใจของตระกูล และดาบเหล่านั้นจะสืบทอดเป็นมรดกต่อๆกันไปหลายชั่วอายุคน และใช้ดาบนี้ในการ การคว้านท้อง หรือ ฮาราคีรี ซึ่งถือกันว่าเป็นการตายอย่างมีเกียรติของนักรบเหล่านี้ ดาบซามูไรนี้ได้ถูกใช้เป็นอาวุธจนกระทั่งมีการนำปืนเข้ามาใช้ และกลายเป็นอาวุธหลักแทน

ชนิดของดาบซามูไร
แบ่งโดยยุคสมัย
ดาบซามูไรแบ่งตามยุคสมัย มี 4ชนิดคือ
1. Koto
2. Shinto
3. Shinshinto
4. Gendaito
แบ่งตามความยาว
1. Ootachi ยาวมากกว่า 3 ซากุ (Shaku)
2. Tachi ยาวตั้งแต่ 2-3 ซากุ
3. Kodachi ยาวไม่ถึง 2 ซากุ
4. Wakizashi ยาวตั้งแต่ 1-1.7 ซากุ
หมายเหตุ 1 ซากุ (Shaku) = 0.303 เมตร

ชนิดของดาบ สามารถแบ่งชนิดหลักๆ ออกได้ 3 ชนิดดังนี้
ดาบยาว (Long Sword)
1. ตาชิ (Tachi) ดาบยาวของทหารม้า มีความโค้งของใบดาบมาก ใช้ฟันจากหลังม้า มีความยาวของใบดาบมากกว่า 70 เซนติเมตร มักไม่คำนึงถึงความคล่องตัว แต่คำนึงถึงระยะโจมตีมากกว่า
2. คาตานะ (Katana) ดาบที่มาแทนที่ดาบตาชิของทหารม้า ตั้งแต่กลางสมัยมุโรมาจิ (ราว พ.ศ. 2000) สามารถใช้ต่อสู้บนพื้นดินได้คล่องตัวกว่า เพราะมีความโค้งน้อยควบคุมได้ง่าย ความยาวใบดาบโดยประมาณ 60.6 เซนติเมตรขึ้นไปถึง 70 เซนติเมตร
ดาบขนาดกลาง (Medium Sword)
วากิซาชิ (Wakizashi) ดาบที่ใช้พกพาคู่กับดาบคาตานะของซามูไร ใบดาบมีความยาวตั้งแต่ 12 นิ้วถึง 24 นิ้ว ดาบที่ซามูไรใช้สำหรับทำ "เซปปุกุ" เมื่อยามจำเป็น และเป็นดาบที่ซามูไรสามารถนำติดตัวเข้าเคหสถานของผู้อื่นกรณีเป็นผู้มาเยือน ได้โดยไม่ต้องฝากไว้กับคนรับใช้ ตามปกติซามูไรจะพกดาบสองเล่ม และโดยธรรมเนียมห้ามพกดาบยาวเข้ามาในบ้านของผู้อื่น ต้องฝากไว้หน้าบ้านเท่านั้น
ดาบขนาดสั้น (Short Sword)
1. ตันโตะ (Tanto) มีลักษณะคล้ายมีดสั้น ความยาวน้อยกว่าดาบวากิซาชิ
2. ไอกุชิ (Aikuchi) คล้ายมีดไม่มีที่กั้นมือ ใช้สำหรับพกในเสื้อ เหมาะกับสตรี
ดาบซามูไรในสงครามโลกครั้งที่ 2 ดาบทหารในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 มีชื่อเรียกว่า "กุนโตะ" เป็นดาบที่ถูกผลิตขึ้นระหว่างปี พ.ศ. 2411 และสิ้นสุดการผลิตเมื่อปี พ.ศ. 2488 ซึ่งถือว่าเป็นยุคใหม่ เป็นดาบที่ทำเพื่อการสงคราม ผลิตจำนวนมาก ยังคงความคมกริบ แต่ไม่ประณีต และไม่มีขั้นตอนการทำอย่างประเพณีโบราณ ดาบรุ่นนี้ตกค้างอยู่ในแถบอินโดจีนจำนวนมากหลังจากสงครามสิ้นสุด ซึ่งอาจจะพบได้ในประเทศพม่าและประเทศไทย ถูกฝังดินอยู่กลางป่าหรือในถ้ำตามเส้นทางเดินทัพของทหารญี่ปุ่น ดาบยุคสงครามจะเป็นดาบที่ใช้ฝักทำด้วยเหล็ก มีห่วงทองเหลืองหรือทองแดงเรียกว่า "โอบิ-โทริ" ใช้สำหรับห้อยกับเข็มขัด ตัวดาบและฝักเหล็กมีน้ำหนักมาก จึงไม่เหมาะที่จะใช้เหน็บเอวอย่างดาบฝักไม้แบบโบราณ ซึ่งมีห่วงผูกเงื่อนที่ทำจากผ้าไหมใช้เหน็บเอวของซามูไร ดาบทหารที่ไม่มีขั้นตอนการผลิตในแบบพิธีกรรมโบราณ จึงไม่มีความศักดิ์สิทธิ์อย่างดาบของพวกซามูไร


ดาบซามูไรขนาดสั้น ตันโตะ


ดาบซามูไรขนาดกลาง วากิซาชิ


ดาบซามูไรขนาดยาว วากิซาชิ