ศาลเจ้าฟูชิมิอินาริ เสาโทริอินับหมื่นต้น (Fushii Inari Taisha Shirine)

ศาลเจ้าฟูชิมิอินาริ (Fushii Inari Taisha Shirine) เสาโทริอินับหมื่นต้น : เมืองเกียวโต






ศาลเจ้าแห่งนี้มีสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของ ญี่ปุ่นปรากฎอยู่ แทบทุกคนต้องเคยเห็นภาพอุโมงค์ทางเดินที่เกิดจากการเรียงโทริอิสึแดงจ้ากว่า หนึ่งหมื่นซุ้ม ทอดสู่ฟูชิมิอินาริไทชะ หรือศาลเจ้าพ่อสุนัขจิ้งจอก ชาวนาเชื่อกันว่าเป็นผู้เดินสารของเทพแห่งการเก็บเกี่ยว ใช้เวลาเดินราว 2 ชั่วโมงหรือเป็นระยะทาง 4 กิโลเมตร ก็จะพบศาลแห่งนี้ การเดินชมเสาโทริอินนี้ ต้องใช้เวลาในการเดินหลายชั่วโมงกว่าจะเดินได้ครบ



การเดินทางไป ศาลเจ้าฟูชิมิอินาริ (Fushii Inari Taisha Shirine) นั่งรถไฟ JR Nara Line ลงสถานี Inari นั่งรถไฟ Keihen Line ลงสถานี Fushimi Inari แล้วเดินต่ออีก 300 เมตร (ประมาณ 5 นาที) จะถึงทางเข้าศาลเจ้าฟูชิมิอินาริ (Fushii Inari Taisha Shirine) เวลาเปิด ตลอเวลา ค่าเข้าชม ฟรี ไม่มีค่าเข้าชม

dozojapan.com

หนังสือการ์ตูน Bloody Monday Season 2


[Kaitori]Bloody Monday Ch.4 DOWNLOAD
[Kaitori]Bloody Monday Ch.3 DOWNLOAD
[Kaitori]Bloody Monday Ch.2 DOWNLOAD
[CHZ]Bloody Monday Ch.1 DOWNLOAD

Mangahelpers

ซูโม่



ซูโม่(ญี่ปุ่น: 相撲 sumō ซึโม ?) หรือมวยปล้ำญี่ปุ่นเป็นกีฬาประจำชาติที่ได้รับความนิยมในญี่ปุ่น ประวัติของซูโม่สามารถย้อนกลับไปได้ไกลถึงศตวรรษที่ 8 โดยวังหลวงได้คัดเลือกนักมวยปล้ำจากกองทัพมาสู้กัน เพื่อสร้างความบันเทิงแก่ชาววังในเกียวโต และพัฒนาจนกลายเป็นกีฬาอาชีพในปัจจุบัน นอกจากนั้นยังเป็นกีฬาที่ได้รับความนิยมจากประเทศในยุโรป เช่น อังกฤษ เป็นต้น อีกด้วย

ประเพณีที่ยึดถือในกีฬาซูโม่นั้นมีความเก่าแก่มาก และยึดถือเป็นแบบปฏิบัติต่อเนื่องกันมาถึงปัจจุบัน เช่น การโปรยเกลืออันเป็นสัญลักษณ์แสดงความบริสุทธิ์ ซึ่งเป็นประเพณีที่ซูโม่ถูกนำมาใช้เป็นส่วนหนึ่งในศาสนาชินโต การใช้ชีวิตของนักปล้ำซูโม่นั้นเคร่งครัดเป็นอย่างยิ่ง และอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ที่กำหนดโดยสมาคมซูโม่ นักปล้ำซูโม่อาชีพจะใช้ชีวิตร่วมกันภายใต้ค่ายสังกัด (heya) ของตนเอง โดยแบบแผนการดำเนินชีวิตในทุกด้าน นับตั้งแต่อาหารการกิน ไปจนกระทั่งการแต่งกาย นั้น ถูกกำหนดด้วยประเพณีปฏิบัติอันเคร่งครัด

ลักษณะ
คู่ปล้ำจะมีรูปร่างอ้วนใหญ่ และจะต้องมีน้ำหนักตัวจะต้องไม่ต่ำกว่า 75 กก.ทั้งสองฝ่ายต้องพยายามทำให้อีกฝ่ายหนึ่งล้ม ทำให้อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายนอกเหนือจากฝ่าเท้าแตะกับพื้น หรือดันคู่ต่อสู้ให้ออกจากวงกลมขนาดเล็ก การต่อสู้ใช้เวลาไม่นานและเริ่มต้นด้วยพิธีกรรมซึ่งรวมถึงการโปรยเกลือบน พื้นในกรอบวงกลม เป็นเครื่องหมายของความบริสุทธิ์ เนื่องจากซูโม่เป็นกีฬาที่มีเกียรติ ผู้ที่ก้าวไปถึงตำแหน่ง "โยโกสุนะ" ซึ่งเป็นตำแหน่งสูงสุดของซูโม่ถือว่าเป็นผู้พิชิตอุปสรรคที่ยิ่งใหญ่ที่สุด

ฤดูกาลแข่งขันซูโม่ของนักซูโม่อาชีพ เปิดการแข่งขันปีละ 6 ครั้ง คือในเดือนมกราคม มีนาคม พฤษภาคม กรกฎาคม กันยายน และพฤศจิกายน โดยแต่ละครั้งใช้เวลานาน 15 วัน

คะตะนะ (ดาบญี่ปุ่น)



คะตะนะ (ญี่ปุ่น: 刀 หรือ かたな Katana ?) เป็นภาษาญี่ปุ่นหมายความถึงอาวุธประเภทดาบ หรือที่เรียกว่า ดาบซามูไร มีลักษณะเป็นดาบคมด้านเดียว เอาไว้เพื่อฟันหรือเพื่อตัด เป็นดาบมีลักษณะพิเศษคือ ไม่หัก ไม่งอ และคม และเป็นงานศิลปหัตถกรรมที่มีคุณค่า มีวิธีการผลิตเฉพาะในญี่ปุ่นคือ เอาโลหะมาเผาและตีแผ่ครั้งแล้วครั้งเล่า จนได้ดาบที่มีความแข็งแรง คม ใช้เป็นอาวุธประจำกายของเหล่านักรบซามูไร ผู้ปกป้องอารักขาคุ้มครองเหล่าขุนนางแห่งญี่ปุ่น โดยปกติจะพกติดตัวตลอดเวลาจำนวน 2 เล่มคือ ดาบยาว หรือ คะตะนะ และดาบสั้น หรือ วาคิซาชิ

ความสำคัญของดาบซามูไร

ในสมัยเอโดะ ดาบเป็นสัญลักษณ์ของลัทธิ บุชิโด (วิถีทางของนักรบ) ซึ่งเป็นจริยธรรมของนักรบที่ต้องยึดถือปฏิบัติ และเป็นสิทธิพิเศษเฉพาะนักรบเท่านั้นที่อนุญาตให้พกดาบได้ ซึ่งในขณะนั้นมีประมาณร้อยละสิบของประชากรทั้งหมด และเหล่านักรบนั้นจึงถือว่าดาบเป็นสิงศักดิ์สิทธิ์ เป็นสิ่งที่แสดงเกียรติยศ ชื่อเสียงและความภาคภูมิใจของตระกูล และดาบเหล่านั้นจะสืบทอดเป็นมรดกต่อๆกันไปหลายชั่วอายุคน และใช้ดาบนี้ในการ การคว้านท้อง หรือ ฮาราคีรี ซึ่งถือกันว่าเป็นการตายอย่างมีเกียรติของนักรบเหล่านี้ ดาบซามูไรนี้ได้ถูกใช้เป็นอาวุธจนกระทั่งมีการนำปืนเข้ามาใช้ และกลายเป็นอาวุธหลักแทน

ชนิดของดาบซามูไร
แบ่งโดยยุคสมัย
ดาบซามูไรแบ่งตามยุคสมัย มี 4ชนิดคือ
1. Koto
2. Shinto
3. Shinshinto
4. Gendaito
แบ่งตามความยาว
1. Ootachi ยาวมากกว่า 3 ซากุ (Shaku)
2. Tachi ยาวตั้งแต่ 2-3 ซากุ
3. Kodachi ยาวไม่ถึง 2 ซากุ
4. Wakizashi ยาวตั้งแต่ 1-1.7 ซากุ
หมายเหตุ 1 ซากุ (Shaku) = 0.303 เมตร

ชนิดของดาบ สามารถแบ่งชนิดหลักๆ ออกได้ 3 ชนิดดังนี้
ดาบยาว (Long Sword)
1. ตาชิ (Tachi) ดาบยาวของทหารม้า มีความโค้งของใบดาบมาก ใช้ฟันจากหลังม้า มีความยาวของใบดาบมากกว่า 70 เซนติเมตร มักไม่คำนึงถึงความคล่องตัว แต่คำนึงถึงระยะโจมตีมากกว่า
2. คาตานะ (Katana) ดาบที่มาแทนที่ดาบตาชิของทหารม้า ตั้งแต่กลางสมัยมุโรมาจิ (ราว พ.ศ. 2000) สามารถใช้ต่อสู้บนพื้นดินได้คล่องตัวกว่า เพราะมีความโค้งน้อยควบคุมได้ง่าย ความยาวใบดาบโดยประมาณ 60.6 เซนติเมตรขึ้นไปถึง 70 เซนติเมตร
ดาบขนาดกลาง (Medium Sword)
วากิซาชิ (Wakizashi) ดาบที่ใช้พกพาคู่กับดาบคาตานะของซามูไร ใบดาบมีความยาวตั้งแต่ 12 นิ้วถึง 24 นิ้ว ดาบที่ซามูไรใช้สำหรับทำ "เซปปุกุ" เมื่อยามจำเป็น และเป็นดาบที่ซามูไรสามารถนำติดตัวเข้าเคหสถานของผู้อื่นกรณีเป็นผู้มาเยือน ได้โดยไม่ต้องฝากไว้กับคนรับใช้ ตามปกติซามูไรจะพกดาบสองเล่ม และโดยธรรมเนียมห้ามพกดาบยาวเข้ามาในบ้านของผู้อื่น ต้องฝากไว้หน้าบ้านเท่านั้น
ดาบขนาดสั้น (Short Sword)
1. ตันโตะ (Tanto) มีลักษณะคล้ายมีดสั้น ความยาวน้อยกว่าดาบวากิซาชิ
2. ไอกุชิ (Aikuchi) คล้ายมีดไม่มีที่กั้นมือ ใช้สำหรับพกในเสื้อ เหมาะกับสตรี
ดาบซามูไรในสงครามโลกครั้งที่ 2 ดาบทหารในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 มีชื่อเรียกว่า "กุนโตะ" เป็นดาบที่ถูกผลิตขึ้นระหว่างปี พ.ศ. 2411 และสิ้นสุดการผลิตเมื่อปี พ.ศ. 2488 ซึ่งถือว่าเป็นยุคใหม่ เป็นดาบที่ทำเพื่อการสงคราม ผลิตจำนวนมาก ยังคงความคมกริบ แต่ไม่ประณีต และไม่มีขั้นตอนการทำอย่างประเพณีโบราณ ดาบรุ่นนี้ตกค้างอยู่ในแถบอินโดจีนจำนวนมากหลังจากสงครามสิ้นสุด ซึ่งอาจจะพบได้ในประเทศพม่าและประเทศไทย ถูกฝังดินอยู่กลางป่าหรือในถ้ำตามเส้นทางเดินทัพของทหารญี่ปุ่น ดาบยุคสงครามจะเป็นดาบที่ใช้ฝักทำด้วยเหล็ก มีห่วงทองเหลืองหรือทองแดงเรียกว่า "โอบิ-โทริ" ใช้สำหรับห้อยกับเข็มขัด ตัวดาบและฝักเหล็กมีน้ำหนักมาก จึงไม่เหมาะที่จะใช้เหน็บเอวอย่างดาบฝักไม้แบบโบราณ ซึ่งมีห่วงผูกเงื่อนที่ทำจากผ้าไหมใช้เหน็บเอวของซามูไร ดาบทหารที่ไม่มีขั้นตอนการผลิตในแบบพิธีกรรมโบราณ จึงไม่มีความศักดิ์สิทธิ์อย่างดาบของพวกซามูไร


ดาบซามูไรขนาดสั้น ตันโตะ


ดาบซามูไรขนาดกลาง วากิซาชิ


ดาบซามูไรขนาดยาว วากิซาชิ

“ออนเซ็น” 温泉 แก้ผ้าหมู่อาบน้ำแร่แช่น้ำร้อน



ว่า กันว่าใครไปญี่ปุ่นแล้วไม่ได้แช่น้ำแร่ร้อน ก็เหมือนไปไม่ถึงญี่ปุ่นค่ะ หญิงไทยใจเกินร้อยอย่างเราเมื่อไปถึงแดนปลาดิบทั้งที จะไม่ลองได้ยังไง... แต่ปัญหาก็อยู่ตรงที่ว่า การจะแช่น้ำแร่ร้อนในญี่ปุ่น ต้องแก้ผ้า(ชนิดร่อนจ้อนละนะ) แล้วก็ไปนั่งแช่นอนแช่รวมกับคนอื่น แต่ยังดีที่เค้าแยกชาย-หญิง แต่ถึงอย่างงั้น เราก็ยังรู้สึก”จั๊กกะเดียม”อยู่ดี แต่สุดท้ายไหน ๆ ไปถึงถิ่น ก็ต้องลองดู



ที่ ญี่ปุ่น มีที่แช่น้ำแร่ร้อนทั่วประเทศเลยค่ะ ทั้งตามโรงแรม ตามรีสอร์ท แล้วก็มีโรงแช่น้ำแร่เฉพาะที่ไม่มีบริการอย่างอื่นนอกจากบริการแช่น้ำแร่ อย่างเดียว สนน ราคาก็ขึ้นอยู่กับบริการค่ะ มีตั้งแต่หลายพันเยนไปจนถึงหมื่นเยนก็มี แต่สิ่งแรกที่ควรระวังก่อนจะเข้าไปแช่ ก็คือ ต้องสังเกตให้ดีว่าฝั่งไหนสำหรับผู้หญิง ฝั่งไหนสำหรับผู้ชาย เพราะไม่มีภาษาอังกฤษช่วยเลย ก็ต้องจำตัวหนังสือภาษาญี่ปุ่นกันเอาเองนะ



พอ เข้าไปแล้วก็จะมีชั้นวางเสื้อผ้า ซึ่งตรงนี้แหละที่เราต้องถอดเสื้อผ้า ชนิดหมดเนื้อหมดตัวกันเลย ถอดแล้วก็วางไว้ในตะกร้าที่เค้าเตรียมไว้ให้ สิ่งที่จะหยิบติดตัวเข้าไปได้มีอย่างเดียว ก็คือผ้าขนหนูผืนน้อย ขนาดก็พอๆ กับผ้าขนหนูที่เราใช้เช็ดหัว สงสัยล่ะสิว่าเค้าใช้ผ้าขนหนูผืนนี้กันยังไง อ่านต่อไปนะ แล้วจะเฉลยให้รู้



ถอด เสื้อผ้าแล้ว ก็ต้องไปอาบน้ำสระผม ชำระล้างร่างกายให้สะอาดซะก่อนค่ะ เกือบทุกที่เค้าจะมีครีมอาบน้ำกับยาสระผมไว้ให้บริการอยู่แล้ว เรื่องนี้หายห่วง คนญี่ปุ่นบางคนถึงขั้นแปรงฟันเลยนะ เพื่อให้สะอาดสุดๆ แบบว่าเป็นมารยาทด้วยนะ เพราะเวลาไปแช่น้ำร้อนในอ่างรวมกับคนอื่นแล้ว ก็จะได้ไม่รังเกียจซึ่งกันและกันไง



อาบ น้ำชำระร่างกายสะอาดแล้วก็ได้เวลาลงแช่กันละนะ ก็จะมีทั้งแช่ในที่ร่มกับแช่กันกลางแจ้ง ก็แล้วแต่ว่าใครจะสะดวกแบบไหน เมื่อกี้เกริ่นไว้ว่าเรามีผ้าขนหนูผืนน้อยติดมือเข้ามาด้วยใช่ป่ะ จริงๆแล้ว คนญี่ปุ่นเค้าเอาผ้าที่ว่ามาเช็ดหน้าเช็ดตาหรือไม่ก็เอามาถูขี้ไคลเวลาอาบ น้ำก็ได้ แต่ต้องระวังนะว่าเค้าจะไม่เอาผ้าไปบิด ไปล้าง หรือเอาไปจุ่มในบ่อน้ำแร่ บางคนจะวางไว้บนขอบบ่อ หรือไม่ก็เทินไว้บนหัว แบบว่าเดี๋ยวคนอื่นเค้าจะรังเกียจเอาไง ส่วนหญิงไทยอย่างเราก็เอาผ้าผืนน้อยมาใช้ปิด..(เซ็นเซอร์!!).. ตอนไม่ได้แช่อยู่ในบ่อน้ำร้อน แต่แหม อย่างที่บอกมันเป็นผ้าผืนน้อย ผลก็คือปิดบนก็เห็นล่าง ปิดล่างก็เห็นบน อันนี้คงต้องเลือกกันเอาเองละกัน



บรรยากาศระหว่างแช่ สบ๊าย..สบาย
ระยะ เวลาที่แช่ก็แล้วแต่ค่ะ ความชอบใจ แต่อย่านานเกินไปล่ะ เพราะอาจรู้สึกเหมือนจะเป็นลมได้ เพราะน้ำที่แช่เป็นน้ำแร่แถมยังร้อนด้วย โดยเฉพาะคนที่ไม่ชินอย่างเราๆ พอแช่เสร็จ ก็ต้องกลับมาอาบน้ำสระผมกันอีกที ก็เป็นอันเสร็จพิธีค่ะ แต่ขอบอกว่า แช่แล้วรู้สึกสบายตัวสุดๆ ไว้มีเรื่องอะไรที่น่าสนใจเกี่ยวกับญี่ปุ่น จะเอามาเล่าสู่กันฟังอีกนะคะ さようなら(ซาโยนาระ)

Credit : ThelastKGB

แมวนางกวัก ( MANEKINEKO )



" มาเนคี เนะโกะ " ( MANEKI NEKO ) นั้นคืออะไร ? และหมายถึงอะไร ?

Can You Explain the Japanese " LUCKY CAT ? "

ด้วยมีคำถามมาจากหลายประเทศที่สงสัยเกี่ยวกับเรื่อง ของ " มาเนคี เนะโกะ " ( MANEKI NEKO ) ที่ว่ามานี้กันมากนะคะ จึงอยากจะขอนำเสนอเรื่องและตำนานที่ว่าทำไมคนญี่ปุ่นถึงได้เรียกแมวที่เรา ๆ ท่าน ๆ มักจะได้เคยเห็นกันตามหนังสือการ์ตูนหรือตามห้างร้านที่กำลังนั่งทำท่ากวักมืออยู่นั้นให้ได้หายสงสัย และรู้จักกันดีขึ้นมามากกว่าเก่าอีกสักหน่อยนะคะ

แมวตัวเมียตัวที่กำลังทำท่ากวักมือเหมือนเรียกแขกหรือผู้ที่จะมาเยือนตัวนี้ของคนญี่ปุ่นนั้น ได้ตั้งชื่อ ให้ว่า " มาเนคี เนะโกะ " ( MANEKI NEKO ) แปลชื่อตามศัพท์ ก็จะได้ออกมาว่า " มาเนคี " คือกวักหรือเรียกโชค " เนะโกะ " คือคำเรียกชื่อสัตว์เลี้ยงพันธุ์หนึ่งคือแมว

เรื่องราวของแมวซึ่งเป็นสัตว์เลี้ยงชนิดหนึ่งนี้นั้น ได้เล่ากันว่า แมวได้เข้ามามีบทบาทและเป็นสัตว์เลี้ยงของชาวญี่ปุ่น โดยการได้ถูกนำข้ามน้ำข้ามทะเลมาจากประเทศจีนผืนแผ่นดินใหญ่ มานานมากกว่า 1000 ปีมาแล้ว และยัง สันนิษฐานว่าการที่แมวได้ถูกเรียกจนกระทั่งได้กลายมาเป็นสัญญาลักษณ์และมีชื่อเสียงว่าเป็น " LUCKY CAT ? " ของ คนญี่ปุ่นในปัจจุบันนี้นั้น คงจะมีเหตุที่เกี่ยวพันตามมาพร้อมด้วยกับตัวแมว ตามความเชื่อถือของคนจีนที่มีเขียน อยู่ในสุภาษิตบทหนึ่งที่ว่า " neko kao aratte mimi o kotsureba sunawaji kekkuyobu " ( เมื่อแมวทำท่าล้างหน้า ถูหู เมื่อ ไหร่เมื่อนั้นแขกก็จะมาเยือน ) ที่คนญี่ปุ่นได้รับฟังและกล่าวถึงความสำคัญของแมวตอนสมัยที่แมวได้มาถึงญี่ปุ่นในตอนสมัยแรก ๆ...

และยังมีเรื่องที่ได้ถูกเล่าขานมาจากวัด " โชเน็นจิ " เมืองเกียวโตอีกอย่างมาว่า แมวสีขาว ( สามารถทำให้โชคชะตาดี ) แมวสีดำ ( จะช่วยป้องกันจากโรคร้าย ) และยังกล่าวไว้อีกว่า แมวสีทอง ( จะทำให้ร่ำรวยเงินทอง ) ส่วนแมวที่ยกขาเท้าหน้า ข้างขวาขึ้นบน (จะเรียกโชคและความสุข ) และแมวที่ยกขาเท้าหน้าข้างซ้ายขึ้นบนนั้น ( จะเรียกแขกและผู้มาเยือน ขายอะไร ก็จะขายดิบ ขายดี ) ได้มีเรื่องเล่าถึงความเป็นมาของ" มาเนคี เนะโกะ " ( MANEKI NEKO ) กันอยู่หลายอย่างตามแต่ ละสมัยที่เกิดขึ้น

เรื่องที่เล่าถึงกำเนิดของ" มาเนคี เนะโกะ " ( MANEKI NEKO ) ที่เก่าแก่และดั้งเดิมที่สุดนั้น ก็เห็นว่าจะมีอยู่ เรื่องเดียวที่มีชื่อเสียงมากกว่าเรื่องอื่น ๆ จนเกือบที่จะพูดได้ว่าเป็นเรื่องจริง ๆ เรื่องแท้ ๆ เลยทีเดียวนั้น ก็มีอยู่ว่านานมาแล้วที่วัด " โกโตกุจิ " ซึ่งเป็นวัดที่เก่าแก่เล็ก ๆ ไม่มีชื่อเสียงและมีบทบาทสำคัญอะไรมากมายในสมัยนั้น ตั้งอยู่ในตำบล " เซตากายะ " ที่วัดนี้มีหลวงพ่อผู้ยากจนได้อาศัยอยู่กับแมวสีขาวปลอดตัวหนึ่ง และถึงแม้ว่าจะยากจนข้าวปลาอาหารที่มีไว้สำหรับเป็นอาหาร ของหลวงพ่อเองนั้นก็น้อยนิดจนเรียกว่าไม่ค่อยจะพอ แต่ด้วยความที่ท่านนั้นทั้งรักและเอ็นดูแมวตัวนี้มาก ท่านจึงมักจะแบ่ง อาหารของท่านที่มีอยู่น้อยนิดนั้น ให้แมวได้กินทุกครั้งไม่เคยให้ต้องอดและหิวด้วยตลอดมา...และในทุกวันและทุก ครั้งที่ ได้ให้อาหารกับแมว ท่านก็จะเอามือลูบหัวของมันไปแล้วพูดกับมันว่า " ดูซิ..หลวงพ่อ ละก็เอ็นดูและสงสารเจ้ามากมายขนาด นี้ทีเดียวนะ เจ้าช่วยตอบแทนด้วยการนำสิ่งที่ดี ๆ เข้ามาให้บ้างสิ " ท่านจะพูดคุยกับมันเหมือนเป็นญาติมิตรที่สนิทสนมกัน มาช้านานเลยทีเดียว

แล้วก็ได้เกิดเหตุการณ์บางอย่างขึ้นในฤดูร้อนของวันหนึ่งเข้า วันนั้นหลวงพ่อท่านได้เดินไปที่หน้าวัด แล้วท่านก็พลัน ได้เห็นว่าได้มี " ทาก้า โทรี " ( ซามูไรผู้ล่าสัตว์ด้วยนกอินทรีย์ ) มายืนเมียงมองอยู่ที่หน้าวัดกับพวกบริวารกลุ่มหนึ่ง และเมื่อ " ทาก้า โทรี " กับบริวารกลุ่มนั้นได้มองมาเห็นหลวงพ่อเข้าก็เดินเข้ามาที่ใกล้ ๆ แล้วพูดบอกกับหลวงพ่อว่า " เมื่อสักครู่นี้ ตอนที่พวกเราได้กำลังที่จะเดินผ่านมาทางหน้าวัดนี้อยู่พอดีนั้น ได้มองเห็นแมวสีขาวตัวหนึ่ง ทำท่ากวักมือเรียกหลายครั้งหลายหน เหมือน อย่างกับจะเรียกให้เขามาในวัด ยังไงยังงั้นเลยทีเดียว พวกเราให้เป็นสงสัยกันอย่างมากว่ามีอะไรที่ในวัดนะ จึงได้มายืนมองดูกันอยู่อย่างที่ หลวงพ่อได้เห็นนี่แหละ แต่ว่าไหนก็หยุดลงตรงนี้แล้ว ก็ขออนุญาติเข้าไปนั้งพักให้หายเหนื่อยในวัดสักหน่อยได้ไหม หลวงพ่อ " หลวงพ่อเมื่อได้ฟังดังนั้นก็กล่าวอนุญาติและได้เชิญผู้คนเหล่านั้นให้เข้าไป ข้างใน และขณะที่กำลังจะเดินเข้าไปนั้น ก็เกิดความ ปรวนแปลของดินฟ้าอากาศขึ้นมาอย่างกระทันหัน ท้องฟ้ามืดมนดำมืดไปหมด แล้วฝนก็ได้ตกลงมาอย่างหนักอย่างไม่มีเคล้ามาก่อนเลยว่าตก ลมนั้นก็เกิดโฮมพัดกระหน่ำขึ้นมาอย่างแรง และอยู่ ๆ พลันฟ้าก็ได้ผ่าลงมาที่ตรงหน้าวัดนั้น เสียงสนั่นหวั่นๆไหวไปหมด " ทาก้า โทรี " ผู้นั้นให้เกิดความปิติและดีใจเป็นอย่างมาก และได้พูดขึ้นว่า " เป็นเพราะแมวได้กวักมือเรียกให้เข้ามาหลบฝน เลยพ้นเคราะห์จากการต้องถูกฟ้าผ่าตายหมดทั้งขบวนมาได้ พวกเราโชคดีอย่างมากที่เชื่อคำเชิญของแมวตัวนั้น " แล้ว " ทาก้า โทรี " ผู้นั้นก็ได้แนะนำตัวว่า เขานั้นมีนามว่า " อี่อี่ นาโอตากะ " เป็นโตโน่ผู้ร่ำรวยของเมืองคิโคแนะเลยทีเดียว จึงด้วยการเป็นเช่นนี้...ท่านซามูไรที่เป็นถึงโตโน่ซามะผู้นั้น จึงขออนุญาติหลวงพ่อขอเป็นผู้อุปถัมและขอเกื้อกูลวัดแห่งนั้น ตั้งแต่บัดนั้นมาเลยทีเดียว ส่วนแมวตัวนั้น เมื่อมันอายุมากขึ้นก็ได้ตายลงไป หลวงพอท่านก็ได้สร้าง " โอฮากะ " ( หลุมศพ ) บรรจุมันไว้อย่างดี จารึก ชื่อไว้เพื่อเป็นหลักฐานว่า แมวตัวนี้เป็นแมวที่สามารถจะบรรดาลเปลี่ยนโชคชะตาให้ได้ จนมีชื่อเสียงมาจนถึงทุกวันนี้

Credit : สุขุมาลย์

วัฒนธรรม...การ์ตูนญี่ปุ่น

วัฒนธรรม..การ์ตูนญี่ปุ่น
การ์ตูนเรื่อง (Comics) คือ หนังสือที่ดำเนินเรื่องด้วยภาพการ์ตูนแทนที่จะมีตัวหนังสือบรรยายเป็นหน้าๆ อย่างหนังสือธรรมดาก็กลายเป็นภาพทั้งหมด คำบรรยายหากจะมีก็เป็นเพียงข้อความสั้นๆให้รู้ว่าใคร ที่ไหน ส่วนจะให้ทำอะไรอย่างไรนั้น จะบรรยายเป็นคำพูดของตัวละคร ผู้อ่านจะมีความรู้สึกเหมือนดูละคร การ์ตูนจะมีคุณสมบัติเบื้องต้น คือ ต้องง่าย (Simple) มัก เน้นเพียงภาพโครงร่าง มีการ์ตูนบางเรื่องที่ใช้ภาพซับซ้อน แต่ก็สามารถเข้าใจได้ง่ายในเวลารวดเร็ว อีกคุณสมบัติหนึ่งของการ์ตูน คือ ลักษณะเกนความเป็นจริง (Exaggerated) เช่นภาพหน้าคนจะบิดเบือนไปจากความเป็นจริง ขนาดของดวงตาจะใหญ่ผิดปกติ
แนวเรื่องของการ์ตูนสามารถแบ่งออกได้เป็น 9 ประเภท ได้แก่
1. แนวนิยายวิทยาศาสตร์
2. แนวผีสางและสัตว์ประหลาด
3. แนวความรักของหนุ่มสาว
4. แนวการแข่งขันเกมและกีฬา
5. แนวการผจญภัยของตัวเอกและคณะ
6. แนวผนวกชีวิตจริงกับสิ่งมหัศจรรย์
7. แนวการต่อสู้ระหว่างฝ่ายธรรมะและอธรรม
8. แนวการดำเนินชีวิตของตัวแสดง
9. แนวการให้ความรู้ในด้านต่างๆ
โดยเฉพาะซึ่งมักจะเสนอความรู้นั้น ผ่านตัวแสดงและเรื่องราวที่สร้างสรรค์อย่างสนุกสนาน
คุณสมบัติของหนังสือการ์ตูน
ประโยชน์ ที่ได้รับเป็นการสนองตอบต่อความต้องการและความสนใจอันเป็นพื้นฐานเพื่อการ เรียนรู้ และปลูกฝังให้รักการอ่าน ในอันที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ โดยการถ่ายถอดจากหนังสือการ์ตูนซึ่งอาจจะเกิดโทษได้จากการที่เด็กเรียนรู้ ก่อนวัยอันสมควร ถ้ามีเนื้อหาที่เสนอเกี่ยวกับเรื่องเพศหรือความน่ากลัวที่ก่อให้เกิดความ เข้าใจผิดได้
วัฒนธรรม หมายถึง สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นและได้เรียนรู้ยอมรับเข้ามาเพื่อตอบสนองความต้องการ ของสมาชิกในสังคม และการใช้สังคมยอมรับสิ่งนั้นๆมีการสืบทอด มีการเลือกสรรปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลาและเงื่อนไขให้เหมาะสมกับสภาพ แวดล้อมก่อให้เกิดแบบแผนที่เป็นความคิด และการกระทำที่ยึดถือปฏิบัติกันเพื่อเป็นวิถีชีวิตคนในสังคม
สังคมและวัฒนธรรมญี่ปุ่น
การ์ตูนญี่ปุ่นที่แปลเป็นไทยนั้น ได้มีการลักษณะเชิงวัฒนธรรมออกมา และมีลักษณะเช่นใดโดยผ่านตัวละครในการ์ตูนเพื่อจะได้ทราบถึงเนื้อหาเชิง วัฒนธรรมที่ปรากฏอยู่ในการ์ตูนนั้น เพราะการ์ตูนเป็นตัวสื่อสารทางวัฒนธรรมได้ ซึ่งในการสื่อสารโดยทั่วไปมีบริบททางสังคมและวัฒนธรรมล้อมกรอบอยู่จึงจำเป็น ต้องเรียนรู้ถึงวัฒนธรรม ตลอดจนสังคมและลักษณะการดำเนินชีวิตของคนญี่ปุ่น ในที่นี้จึงขอกล่าวทฤษฎีและแนวคิดของนักวิชาการหลายๆท่านที่เป็นที่ยอมรับใน เรื่องของการอธิบายลักษณะสังคมและวัฒนธรรมญี่ปุ่น
ลักษณะเด่นของวัฒนธรรมญี่ปุ่น
1. สังคม ญี่ปุ่นให้ความสำคัญแก่กลุ่มมาก สังคมตะวันตกมักนิยมให้ความสำคัญแก่คุณสมบัติของบุคคลในฐานะปัจเจกบุคคล แต่สังคมญี่ปุ่นนั้นเน้นความสำคัญของกลุ่มหรือสถาบันที่บุคคลสังกัดอยู่มาก กลุ่มต่างๆเหล่านี้ มีแรงกดดันบังคับต่อสมาชิกด้วยการควบคุมในลักษณะต่างๆมาก คนในกลุ่มจึงอุทิศตัวเพื่อกลุ่ม
2. สังคมญี่ปุ่นเน้นการจัดอันดับสูงต่ำในกลุ่มก็เน้นอาวุโสมากกว่าความสามารถ รุ่นพี่รุ่นน้อง ในวงการเดียวกันก็แยกเป็นหลายระดับ
3. การทำงานมีความขยันหมั่นเพียรและมีความมานะพยายาม
4. ความซื่อสัตย์และจงรักภักดี
5. ความมีระเบียบวินัย
6. การให้ความสำคัญต่อประวัติการศึกษา
7. การแบ่งบทบาทหน้าที่ของชายหญิง

แก่นความคิดของการ์ตูนโดยส่วนใหญ่แสดงออกถึงความมานะพยายามของตัวละครที่ต้องการ บรรลุสิ่งที่มุ่งหวัง ด้วยความอดทนและขยันหมั่นเพียร อันเป็นลักษณะเด่นของวัฒนธรรมญี่ปุ่น ในส่วน วัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับค่านิยมพบว่า ค่านิยมที่เป็นลักษณะดั้งเดิมของญี่ปุ่นยังปรากฏอยู่มากในการ์ตูน ได้แก่ค่านิยมความเป็นกลุ่มและนึกต่อกลุ่ม ค่านิยมความมานะพยายาม ค่านิยมความซื่อสัตย์ความจงรักภักดีและความกล้าหาญ ค่านิยมความมีระเบียบวินัย ส่วนลักษณะค่านิยม ที่เริ่มเปลี่ยนแปลงไปจากดั้งเดิม ได้แก่ ค่านิยมการจัดอันดับสูงต่ำที่มีการเน้นความสามรถแทนความอาวุโสมากขึ้น และค่านิยมที่แสดงความเป็นปัจเจกบุคคลมากกว่าความเป็นกลุ่ม ซึ่งเป็นลักษณะที่มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านวัฒนธรรม