วัฒนธรรม..การ์ตูนญี่ปุ่น
การ์ตูนเรื่อง (Comics) คือ หนังสือที่ดำเนินเรื่องด้วยภาพการ์ตูนแทนที่จะมีตัวหนังสือบรรยายเป็นหน้าๆ อย่างหนังสือธรรมดาก็กลายเป็นภาพทั้งหมด คำบรรยายหากจะมีก็เป็นเพียงข้อความสั้นๆให้รู้ว่าใคร ที่ไหน ส่วนจะให้ทำอะไรอย่างไรนั้น จะบรรยายเป็นคำพูดของตัวละคร ผู้อ่านจะมีความรู้สึกเหมือนดูละคร การ์ตูนจะมีคุณสมบัติเบื้องต้น คือ ต้องง่าย (Simple) มัก เน้นเพียงภาพโครงร่าง มีการ์ตูนบางเรื่องที่ใช้ภาพซับซ้อน แต่ก็สามารถเข้าใจได้ง่ายในเวลารวดเร็ว อีกคุณสมบัติหนึ่งของการ์ตูน คือ ลักษณะเกนความเป็นจริง (Exaggerated) เช่นภาพหน้าคนจะบิดเบือนไปจากความเป็นจริง ขนาดของดวงตาจะใหญ่ผิดปกติ
แนวเรื่องของการ์ตูนสามารถแบ่งออกได้เป็น 9 ประเภท ได้แก่
1. แนวนิยายวิทยาศาสตร์
2. แนวผีสางและสัตว์ประหลาด
3. แนวความรักของหนุ่มสาว
4. แนวการแข่งขันเกมและกีฬา
5. แนวการผจญภัยของตัวเอกและคณะ
6. แนวผนวกชีวิตจริงกับสิ่งมหัศจรรย์
7. แนวการต่อสู้ระหว่างฝ่ายธรรมะและอธรรม
8. แนวการดำเนินชีวิตของตัวแสดง
9. แนวการให้ความรู้ในด้านต่างๆ
โดยเฉพาะซึ่งมักจะเสนอความรู้นั้น ผ่านตัวแสดงและเรื่องราวที่สร้างสรรค์อย่างสนุกสนาน
คุณสมบัติของหนังสือการ์ตูน
ประโยชน์ ที่ได้รับเป็นการสนองตอบต่อความต้องการและความสนใจอันเป็นพื้นฐานเพื่อการ เรียนรู้ และปลูกฝังให้รักการอ่าน ในอันที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ โดยการถ่ายถอดจากหนังสือการ์ตูนซึ่งอาจจะเกิดโทษได้จากการที่เด็กเรียนรู้ ก่อนวัยอันสมควร ถ้ามีเนื้อหาที่เสนอเกี่ยวกับเรื่องเพศหรือความน่ากลัวที่ก่อให้เกิดความ เข้าใจผิดได้
วัฒนธรรม หมายถึง สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นและได้เรียนรู้ยอมรับเข้ามาเพื่อตอบสนองความต้องการ ของสมาชิกในสังคม และการใช้สังคมยอมรับสิ่งนั้นๆมีการสืบทอด มีการเลือกสรรปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลาและเงื่อนไขให้เหมาะสมกับสภาพ แวดล้อมก่อให้เกิดแบบแผนที่เป็นความคิด และการกระทำที่ยึดถือปฏิบัติกันเพื่อเป็นวิถีชีวิตคนในสังคม
สังคมและวัฒนธรรมญี่ปุ่น
การ์ตูนญี่ปุ่นที่แปลเป็นไทยนั้น ได้มีการลักษณะเชิงวัฒนธรรมออกมา และมีลักษณะเช่นใดโดยผ่านตัวละครในการ์ตูนเพื่อจะได้ทราบถึงเนื้อหาเชิง วัฒนธรรมที่ปรากฏอยู่ในการ์ตูนนั้น เพราะการ์ตูนเป็นตัวสื่อสารทางวัฒนธรรมได้ ซึ่งในการสื่อสารโดยทั่วไปมีบริบททางสังคมและวัฒนธรรมล้อมกรอบอยู่จึงจำเป็น ต้องเรียนรู้ถึงวัฒนธรรม ตลอดจนสังคมและลักษณะการดำเนินชีวิตของคนญี่ปุ่น ในที่นี้จึงขอกล่าวทฤษฎีและแนวคิดของนักวิชาการหลายๆท่านที่เป็นที่ยอมรับใน เรื่องของการอธิบายลักษณะสังคมและวัฒนธรรมญี่ปุ่น
ลักษณะเด่นของวัฒนธรรมญี่ปุ่น
1. สังคม ญี่ปุ่นให้ความสำคัญแก่กลุ่มมาก สังคมตะวันตกมักนิยมให้ความสำคัญแก่คุณสมบัติของบุคคลในฐานะปัจเจกบุคคล แต่สังคมญี่ปุ่นนั้นเน้นความสำคัญของกลุ่มหรือสถาบันที่บุคคลสังกัดอยู่มาก กลุ่มต่างๆเหล่านี้ มีแรงกดดันบังคับต่อสมาชิกด้วยการควบคุมในลักษณะต่างๆมาก คนในกลุ่มจึงอุทิศตัวเพื่อกลุ่ม
2. สังคมญี่ปุ่นเน้นการจัดอันดับสูงต่ำในกลุ่มก็เน้นอาวุโสมากกว่าความสามารถ รุ่นพี่รุ่นน้อง ในวงการเดียวกันก็แยกเป็นหลายระดับ
3. การทำงานมีความขยันหมั่นเพียรและมีความมานะพยายาม
4. ความซื่อสัตย์และจงรักภักดี
5. ความมีระเบียบวินัย
6. การให้ความสำคัญต่อประวัติการศึกษา
7. การแบ่งบทบาทหน้าที่ของชายหญิง
แก่นความคิดของการ์ตูนโดยส่วนใหญ่แสดงออกถึงความมานะพยายามของตัวละครที่ต้องการ บรรลุสิ่งที่มุ่งหวัง ด้วยความอดทนและขยันหมั่นเพียร อันเป็นลักษณะเด่นของวัฒนธรรมญี่ปุ่น ในส่วน วัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับค่านิยมพบว่า ค่านิยมที่เป็นลักษณะดั้งเดิมของญี่ปุ่นยังปรากฏอยู่มากในการ์ตูน ได้แก่ค่านิยมความเป็นกลุ่มและนึกต่อกลุ่ม ค่านิยมความมานะพยายาม ค่านิยมความซื่อสัตย์ความจงรักภักดีและความกล้าหาญ ค่านิยมความมีระเบียบวินัย ส่วนลักษณะค่านิยม ที่เริ่มเปลี่ยนแปลงไปจากดั้งเดิม ได้แก่ ค่านิยมการจัดอันดับสูงต่ำที่มีการเน้นความสามรถแทนความอาวุโสมากขึ้น และค่านิยมที่แสดงความเป็นปัจเจกบุคคลมากกว่าความเป็นกลุ่ม ซึ่งเป็นลักษณะที่มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านวัฒนธรรม
แนวเรื่องของการ์ตูนสามารถแบ่งออกได้เป็น 9 ประเภท ได้แก่
1. แนวนิยายวิทยาศาสตร์
2. แนวผีสางและสัตว์ประหลาด
3. แนวความรักของหนุ่มสาว
4. แนวการแข่งขันเกมและกีฬา
5. แนวการผจญภัยของตัวเอกและคณะ
6. แนวผนวกชีวิตจริงกับสิ่งมหัศจรรย์
7. แนวการต่อสู้ระหว่างฝ่ายธรรมะและอธรรม
8. แนวการดำเนินชีวิตของตัวแสดง
9. แนวการให้ความรู้ในด้านต่างๆ
โดยเฉพาะซึ่งมักจะเสนอความรู้นั้น ผ่านตัวแสดงและเรื่องราวที่สร้างสรรค์อย่างสนุกสนาน
คุณสมบัติของหนังสือการ์ตูน
ประโยชน์ ที่ได้รับเป็นการสนองตอบต่อความต้องการและความสนใจอันเป็นพื้นฐานเพื่อการ เรียนรู้ และปลูกฝังให้รักการอ่าน ในอันที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ โดยการถ่ายถอดจากหนังสือการ์ตูนซึ่งอาจจะเกิดโทษได้จากการที่เด็กเรียนรู้ ก่อนวัยอันสมควร ถ้ามีเนื้อหาที่เสนอเกี่ยวกับเรื่องเพศหรือความน่ากลัวที่ก่อให้เกิดความ เข้าใจผิดได้
วัฒนธรรม หมายถึง สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นและได้เรียนรู้ยอมรับเข้ามาเพื่อตอบสนองความต้องการ ของสมาชิกในสังคม และการใช้สังคมยอมรับสิ่งนั้นๆมีการสืบทอด มีการเลือกสรรปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลาและเงื่อนไขให้เหมาะสมกับสภาพ แวดล้อมก่อให้เกิดแบบแผนที่เป็นความคิด และการกระทำที่ยึดถือปฏิบัติกันเพื่อเป็นวิถีชีวิตคนในสังคม
สังคมและวัฒนธรรมญี่ปุ่น
การ์ตูนญี่ปุ่นที่แปลเป็นไทยนั้น ได้มีการลักษณะเชิงวัฒนธรรมออกมา และมีลักษณะเช่นใดโดยผ่านตัวละครในการ์ตูนเพื่อจะได้ทราบถึงเนื้อหาเชิง วัฒนธรรมที่ปรากฏอยู่ในการ์ตูนนั้น เพราะการ์ตูนเป็นตัวสื่อสารทางวัฒนธรรมได้ ซึ่งในการสื่อสารโดยทั่วไปมีบริบททางสังคมและวัฒนธรรมล้อมกรอบอยู่จึงจำเป็น ต้องเรียนรู้ถึงวัฒนธรรม ตลอดจนสังคมและลักษณะการดำเนินชีวิตของคนญี่ปุ่น ในที่นี้จึงขอกล่าวทฤษฎีและแนวคิดของนักวิชาการหลายๆท่านที่เป็นที่ยอมรับใน เรื่องของการอธิบายลักษณะสังคมและวัฒนธรรมญี่ปุ่น
ลักษณะเด่นของวัฒนธรรมญี่ปุ่น
1. สังคม ญี่ปุ่นให้ความสำคัญแก่กลุ่มมาก สังคมตะวันตกมักนิยมให้ความสำคัญแก่คุณสมบัติของบุคคลในฐานะปัจเจกบุคคล แต่สังคมญี่ปุ่นนั้นเน้นความสำคัญของกลุ่มหรือสถาบันที่บุคคลสังกัดอยู่มาก กลุ่มต่างๆเหล่านี้ มีแรงกดดันบังคับต่อสมาชิกด้วยการควบคุมในลักษณะต่างๆมาก คนในกลุ่มจึงอุทิศตัวเพื่อกลุ่ม
2. สังคมญี่ปุ่นเน้นการจัดอันดับสูงต่ำในกลุ่มก็เน้นอาวุโสมากกว่าความสามารถ รุ่นพี่รุ่นน้อง ในวงการเดียวกันก็แยกเป็นหลายระดับ
3. การทำงานมีความขยันหมั่นเพียรและมีความมานะพยายาม
4. ความซื่อสัตย์และจงรักภักดี
5. ความมีระเบียบวินัย
6. การให้ความสำคัญต่อประวัติการศึกษา
7. การแบ่งบทบาทหน้าที่ของชายหญิง
แก่นความคิดของการ์ตูนโดยส่วนใหญ่แสดงออกถึงความมานะพยายามของตัวละครที่ต้องการ บรรลุสิ่งที่มุ่งหวัง ด้วยความอดทนและขยันหมั่นเพียร อันเป็นลักษณะเด่นของวัฒนธรรมญี่ปุ่น ในส่วน วัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับค่านิยมพบว่า ค่านิยมที่เป็นลักษณะดั้งเดิมของญี่ปุ่นยังปรากฏอยู่มากในการ์ตูน ได้แก่ค่านิยมความเป็นกลุ่มและนึกต่อกลุ่ม ค่านิยมความมานะพยายาม ค่านิยมความซื่อสัตย์ความจงรักภักดีและความกล้าหาญ ค่านิยมความมีระเบียบวินัย ส่วนลักษณะค่านิยม ที่เริ่มเปลี่ยนแปลงไปจากดั้งเดิม ได้แก่ ค่านิยมการจัดอันดับสูงต่ำที่มีการเน้นความสามรถแทนความอาวุโสมากขึ้น และค่านิยมที่แสดงความเป็นปัจเจกบุคคลมากกว่าความเป็นกลุ่ม ซึ่งเป็นลักษณะที่มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านวัฒนธรรม
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น